การสัมมนาหัวข้อ “ทิศทางไทยกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตวัตถุดิบสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (Active Pharmaceutical Ingredients; API)” ในงานประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 17 หรือ 17th NSTDA Annual Conference: NAC2022 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม 2565 ข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.nstda.or.th/nac/2022

ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมการผลิตสารเคมี หรือที่เรียกกันว่า สารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม (Active Pharmaceutical Ingredients, API) อยู่เพียงเล็กน้อย เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องใช้ยาจำนวนมากโดยฉับพลัน จำเป็นต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศเสมอ และในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ เช่น COVID-19 ซึ่งเป็นสถานการณ์เร่งด่วน มีข้อจำกัดด้านระยะเวลา การนำเข้ายาจากต่างประเทศมีต้นทุนสูง

นอกจากนี้ ในกรณีที่กำลังการผลิตของประเทศผู้ผลิตมีไม่เพียงพอ ประเทศจะไม่สามารถสั่งซื้อยาได้อย่างเพียงพอภายในระยะเวลาอันสั้น กระทั่งสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมต่างๆ ที่จะนำมาผลิตก็ไม่สามารถหาซื้อได้ด้วยวิธีปกติ ส่งผลให้ประเทศไทยไม่ได้รับยาที่เพียงพอต่อการรักษา และควบคุมการระบาดของโรค ก่อให้เกิดความสูญเสียในวงกว้างได้

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือต่อโรคระบาด นอกเหนือจากการพัฒนาเครื่องมือในการเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพ และการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำแล้ว การใช้ยาในการรักษาผู้ป่วยเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยควบคุมการระบาด และลดความสูญเสียทั้งด้านชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต API เพื่อการผลิตยา จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อความมั่งคงทางยาของประเทศ และเพิ่มการเข้าถึงยาให้ผู้ป่วยในภาวะวิกฤตนี้

 

Tags: , , ,