การเสวนาเรื่อง ความท้าทายของการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางในประเทศด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม วันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2559 เวลา 13.00 – 16.00 น. ห้องประชุม One-North ชั้น 1 อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 (INC 2) ทาวเวอร์ A

การพัฒนาการขนส่งระบบราง เป็นวาระที่รัฐบาลให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง แต่การพัฒนาระบบราง ยังต้องนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรม เป็นจำนวนมากกว่า 50 % ของมูลค่าโครงการ ทำให้ขาดโอกาสในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนไทย นอกจากนั้น การสร้างระบบขนส่งรางสมัยใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีสูง โดยไม่มีความสามารถด้านการผลิต ในภาคอุตสาหกรรมสนับสนุน อาจทำให้การบำรุงรักษาระบบ ขาดความมั่นคงได้

แต่การผลักดันเรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางในประเทศ ก็ติดขัดปัญหาอุปสรรคเป็นอย่างมาก กรณีการสร้างรถไฟความเร็วสูงในไต้หวัน มีความน่าสนใจตรงที่ ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุน ในเบื้องต้น จึงไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ โดยใช้หลักคิดแบบภาคเอกชนคือ “ซื้อมาขายไปมีกำไร” แต่เมื่อโครงการรถไฟความเร็วสูง มีปัญหาทางการเงิน จนต้องยุติสัญญาสัมปทาน (BOT)

และรัฐบาลได้ซื้อส่วนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) กลับคืนมาเป็นของรัฐ ผู้เกี่ยวข้อง จึงเริ่มมองผลประโยชน์ของประเทศ ในมุมมองที่ว้างกว่าเดิม และเริ่มเจรจากับผู้ผลิต เรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในการผลิตชิ้นส่วน ซึ่งพบว่าไม่ง่ายเลย หากไม่ได้ทำสัญญาไว้ก่อน บทเรียนจากไต้หวัน จึงอาจจะมีประโยชน์ต่อประเทศไทย ในเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย



ตอนที่ 1/4


ตอนที่ 2/4


ตอนที่ 3/4


ตอนที่ 4/4

 

Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,