นักวิจัย สวทช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ศึกษาวิจัยพบสาหร่ายใบมะกรูดชนิด Halimeda macroloba (ฮาลิเมดา มาโครโลบา) สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงถึง 19.08 กรัมคาร์บอนต่อวันต่อตารางเมตร ซึ่งสูงกว่าหญ้าทะเลถึง 80 เท่า ยูคาลิปตัส 32 เท่า และต้นโกงกาง 25 เท่า

นอกจากนี้ สาหร่ายใบมะกรูด ยังสามารถเปลี่ยนคาร์บอนเป็นหินปูนได้ ซึ่งสาหร่ายมีหินปูนเป็นองค์ประกอบอยู่ถึง 80% ของน้ำหนักตัว และสร้างหินปูนได้ถึง 360 มิลลิกรัมต่อตารางเมตร แถมหินปูนเหล่านี้ ยังมีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะช่วยให้หินปูนกระจายตัว ในเนื้อพอลิเมอร์ได้ดี ทำให้เนื้อปูนมีแนวโน้มเกาะกลุ่มกัน ได้ดีกว่าหินปูนทางการค้า โดยปัจจุบัน ทีมวิจัยได้เตรียมศึกษาระบบเพาะเลี้ยง เพื่อเพิ่มปริมาณสาหร่ายใบมะกรูด เพื่อช่วยลดโลกร้อน และอาจนำหินปูนไปใช้ประโยชน์ต่อได้ในอนาคต

 

Tags: , , , , , , , , , , ,