การพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์นั้นต้องใช้เวลา กว่าจะได้ผลสำเร็จ นักวิทยาศาสตร์ต้องทำการทดลองเป็นร้อยครั้ง พันครั้ง และต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการทดลองสิ่งใหม่ๆ นักวิจัยจึงพัฒนาการทำวิจัยในแนวทางใหม่ ที่ช่วยลดเวลา และความเสี่ยงด้วยการทำแบบจำลองโมเลกุลสามมิติ

นักวิจัย นาโนเทค / สวทช. ใช้การจำลองโมเลกุลสามมิติ และการคำนวณด้วยเทคนิคทางเคมีคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ในการออกแบบ และทำนายสมบัติของโครงสร้างระดับนาโนเมตร ได้แก่คุณสมบัติเชิงแสง พลังงานจลน์ พลังงานความร้อน ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมีของวัสดุ ก่อนพัฒนาไปสู่ชิ้นงานจริง โดยการจำลองโมเลกุลสามมิตินี้ จะเน้นการพัฒนาวัสดุนาโน เพื่อการใช้งานด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เช่น การพัฒนาวัสดุดูดซับไอปรอท และแก๊สพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ในโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือการพัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อแปรรูปชีวมวลเป็นพลังงานชีวภาพขั้นสูงในระดับนาโน

ซึ่งแบบจำลองนี้ จะช่วยให้นักวิจัยคำนวณความเป็นไปได้ ก่อนการวิจัยในห้องปฏิบัติการ หรือทดลองจริง มีความแม่นยำ และช่วยย่นระยะเวลาในการทดลอง ลดการเกิดภาวะเสี่ยง

 

Tags: , , , , , , , , , ,