ไททาเนียมเป็นวัสดุที่ไวต่อการทำปฏิกิริยา ในระหว่างกระบวนการผลิต เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 300 องศาเซลเซียส ไททาเนียมจะถูกปนเปื้อนได้ง่ายและเปราะ ปัจจัยสำคัญ คือการควบคุมปริมาณการปนเปื้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งออกซิเจนและคาร์บอน ถ้าสามารถควบคุมสารปนเปื้อนให้น้อยลงได้ ความสามารถในการรับภาระกดก็จะเพิ่มขึ้น

เอ็มเทค / สวทช. ร่วมกับบริษัท ไทเซโคเกียว (ประเทศไทย) จำกัด พัฒนาผลงานวิจัย “กระบวนการผลิตโฟมไททาเนียมแบบเซลเปิด โดยใช้กระบวนการชุบสารแขวนลอยกับต้นแบบโฟมพอลิเมอร์” เพื่อใช้เป็นตัวกรองสำหรับใช้งานที่อุณหภูมิสูง และเป็นขั้วในระบบเคมีไฟฟ้า เนื่องจากมีความต้านทานการกัดกร่อนสูง

ผลงานวิจัยได้ถูกพัฒนาขึ้นจากองค์ความรู้เดิม ซึ่ง เอ็มเทค / สวทช. ได้ยื่นจดสิทธิบัตรไว้ โดยปรับวัสดุตั้งต้นและตัวแปรในการผลิต ให้สามารถผลิตโฟมไททาเนียมที่มีสมบัติเชิงกลดี โดยกระบวนการดังกล่าว เหมาะสมกับการผลิตออกมาในเชิงพาณิชย์ ทางบริษัทและเอ็มเทคได้ร่วมยื่นจดสิทธิบัตรไทย และตีพิมพ์ผลงานในวารสารนานาชาติอีก 4 ฉบับ

 

Tags: , , , , , , , , , , , , ,