การบ่งชี้การตั้งท้องของแม่โค ที่ได้รับการผสมเทียม สามารถทำได้ง่ายขึ้น โดยการตรวจวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในซีรั่ม หรือน้ำนมของแม่โค ซึ่งนักวิจัยไบโอเทค สวทช. ได้ผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดี ที่มีความจำเพาะเจาะจงสูงต่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เมื่อนำมาใช้ร่วมกับวิธีคอมเพททิทีฟอีไลซา (competitive ELISA) ก็จะช่วยให้การตรวจท้องทำได้อย่างแม่นยำ รู้ผลเร็ว ใช้งานง่าย และมีราคาถูกด้วย

นอกจากนี้ ยังสามารถใช้สำหรับการติดตามการทำงานของรังไข่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดระบบการสืบพันธุ์ ในฝูงปศุสัตว์ของเกษตรกร รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ทั้งที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจ สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า และสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ได้อีกด้วย

 

Tags: , , , , , , , , , ,