การผลิตก๊าชชีวภาพจากมูลสัตว์ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทดแทนในครัวเรือน ด้วยระบบถุงหมักพีวีชี กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ จะมีการปนเปื้อนก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) หรือก๊าซไข่เน่า ซึ่งทำให้มีกลิ่นเหม็น

สวทช. ภาคเหนือ ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาวิธีลดปริมาณก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์อย่างง่าย และมีต้นทุนต่ำ จากก๊าชชีวภาพที่ได้จากมูลสัตว์ ด้วยเม็ด Ferric hydroxide (เฟอริก ไฮดรอกไซด์) ซึ่งผลิตจากทรายผสมปูนซีเมนต์เทาในอัตราส่วน 2:1 และบรรจุไว้ในชุดดูดซับแบบท่อพีวีซีคู่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว สูง 100 เซนติเมตร ซึ่งระบบสามารถลดกลิ่นเหม็นจากก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ได้เกือบ 100%

ระบบการลดปริมาณก๊าซนี้เหมาะสมต่อการใช้งานในครัวเรือน เพราะใช้งานง่าย และนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยเปิดวาล์วให้อากาศผ่านเข้าออก จึงไม่ต้องเสียเวลา แรงงาน และไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ปัจจุบันมีการนำชุดดูดซับก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ไปใช้ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์นำร่อง เช่น ฟาร์มเลี้ยงหมู ในหลายพื้นที่แล้ว

 

Tags: , , , , , , , , ,