สวทช. ภาคเหนือ สนับสนุน ผศ.ดร.ฐปน ชื่นบาล จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศึกษาวิจัยการผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักเศษวัชพืช ร่วมกับของเสียจากสุกรได้สำเร็จ ทำให้เกษตรกรผลิตก๊าซก๊าซชีวภาพได้มากขึ้น

โดยในงานวิจัย ได้นำเชื้อแบคทีเรีย สกุล Lactobacillus sp. ซึ่งเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติกได้ มาใช้ในการหมักวัชพืชที่มีเส้นใยเซลลูโลสสูง ร่วมกับของเสียจากมูลสุกร โดยหมักในถังที่มีฝาปิดมิดชิดขนาด 100 ลิตร มีอัตราส่วนวัชพืชท้องถิ่นต่อมูลสัตว์ ในอัตรา 50 : 50 ใช้ระยะเวลาในการหมัก 30 วัน แบคทีเรียจะผลิตก๊าซมีเทนออกมาได้มากถึง 37 ลูกบาศก์เมตร สามารถนำไปใช้งานได้ต่อเนื่องถึง 4 ชั่วโมง ทั้งนี้วัชพืชที่ใช้หากเป็นวัชพืชขนและพืชสด เช่น หญ้าขน หญ้าคา จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

Tags: , , , , , , , , ,