การนำเสนอผลงานวิจัย (Technology Pitching) กลุ่มเครื่องมือ เครื่องจักร และอิเล็กทรอนิกส์ ในหัวข้อ “กรรมวิธีการผลิตเฮมพ์คอนกรีต” ในงาน Thailand Tech Show 2018 วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม 2561 ณ ห้อง MR 219 ชั้น 2 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

นักวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรวัฒน์ สินศิริ, นายพุทธิพัทธ์ ราชคำ
สำนักวิชาวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ปัจจุบันได้มีการนำวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตร ที่เป็นวัสดุชีวภาพ มาใช้ผลิตเป็นวัสดุก่อสร้างอย่างแพร่หลาย เพื่อต้องการลดต้นทุน ลดปริมาณการใช้วัสดุสังเคราะห์ที่ได้จากภาคอุตสาหกรรม เช่น การใช้เส้นใยจากใยมะพร้าว และเส้นใยปาล์มที่ได้จากธรรมชาติ มาผลิตเป็นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด

เนื่องจากเส้นใยสังเคราะห์ที่ได้จากภาคอุตสาหกรรม มีราคาที่สูงขึ้น ทำให้การผลิตวัสดุก่อสร้าง เช่น อิฐบล๊อคคอนกรีต และแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด มีราคาที่เพิ่มขึ้ นอกจากนี้ การใช้วัสดุจำพวกแร่ใย่หิน มาเป็นส่วนผสม ก็ยังทำให้เกิดพิษต่อร่างกายมนุษย์อีกด้วย

จากปัญหาดังกล่าว จึงมีแนวคิดที่จะใช้เศษวัสดุที่เหลือจากภาคเกษตรกรรม ที่เป็นวัสดุเหลือทิ้ง เช่น แกนและเส้นใยเฮมพ์ (Hemp shives and fiber) มาใช้ผลิตเป็นวัสดุทดแทน ซึ่งความหมายของ เฮมพ์หรือกัญชง (Hemp) เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุเพียงปีเดียว ชาวเขานิยมปลูกต้นกัญชงในทางภาคเหนือของประเทศไทย กัญชงเจริญเติบโตได้ง่าย มีความสูงถึง 4 เมตร ประโยชน์ของกัญชง คือ นิยมนำเส้นใยของต้นกัญชงมาทำเป็นเส้นใยทอผ้า ซึ่งเส้นใยที่ได้มีความเหนียวนุ่ม น้ำหนักเบา มีสีออกขาวแกมน้ำตาล จัดได้ว่าเป็นเส้นใยที่มีคุณภาพสูงมีความยืดหยุ่น แข็งแรงทนทาน

ถ้าลอกเส้นใยออกจากลำต้นกัญชงหมดแล้ว จะเหลือในส่วนของแกนลำตัน (Hurds Hemp) หรือเปลือกแกนลำต้น (Shives Hemp) นิยมเรียกตามภาษาต่างประเทศว่า “แกนเฮมพ์” ที่มีลักษณะเบา รูกลวงกลาง นำไปใช้ในงานโครงสร้างอะไรไม่ได้ จึงกลายเป็นเศษวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตร ถือว่าเป็นวัสดุชีวภาพ (Bio Materials)

ในประเทศไทย การนำเศษแกนแกนเฮมพ์ไปใช้ประโยชน์หรือไปทำวิจัยยังมีน้อย แต่ในต่างประเทศ แถบอเมริกาเหนือ ยุโรป หรือออสเตรเลีย นิยมนำแกนเฮมพ์ไปใช้งานกันแพร่หลาย เช่น การนำแกนเฮมพ์มาผสมกับไลม์และน้ำ เมื่อแข็งตัวจะกลายเป็น เฮมพ์กรีต (Hempcret) และผสมร่วมสารซีเมนต์กับมวลรวมและน้ำ จะกลายเป็น เฮมพ์คอนกรีต (Hemp Concrete) ใช้ทำเป็นวัสดุก่อผนัง วัสดุเทพื้น วัสดุโครงสร้าง หรือแม้แต่งานฉนวน ที่รับน้ำหนักบรรทุกไม่มาก อิฐเฮมพ์กรีต มีคุณสมบัติ น้ำหนักเบา ความหนาแน่นต่ำ เป็นฉนวน ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ให้แปรสภาพเป็นออกซิเจน (H2O) สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนได้ประมาณ 50 % ของปริมาตร และมีความทนไฟได้เป็นระยะเวลานาน

 

Tags: , , , , , , , , , , ,