การสัมมนา “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม กับการพัฒนาคุณภาพสัตว์น้ำไทยอย่างยั่งยืน (Science Technology and Innovation for Sustainable Aquaculture Development in Thailand)” วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2562 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม SSH-Auditorium บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

แหล่งอาหารที่ยั่งยืนมีความสำคัญมากต่อการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกในทศวรรษหน้า แหล่งอาหารที่สำคัญคืออาหารที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลา กุ้ง และหอย เป็นต้น เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์น้ำมีต้นทุน FCR ที่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่น และมีพื้นที่โลกที่เป็นแหล่งน้ำมหาศาลที่สามารถเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้ ยกตัวอย่าง การเลี้ยงในกระชังที่นำไปวางในทะเลลึก เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีการขยายตัวของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างมากในปัจจุบัน

การบริหารจัดการให้เกิดอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน จึงต้องคำนึงถึงแนวทางการเลี้ยงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเอานวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การใช้ระบบน้ำหมุนเวียนในการเลี้ยงสัตว์น้ำ กระบวนการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ การพัฒนาสูตรอาหารแหล่งโปรตีนทางเลือกเพื่อทดแทนการจับปลาขนาดเล็กในทะเล การพัฒนาวัคซีนสัตว์น้ำ เป็นต้น

การจะนำนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ ต้องเกิดความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมทั้งจากนักวิจัย ผู้เกี่ยวข้องภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศต่อไป



กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์น้ำแบบบูรณาการ
โดย ดร.สรวิศ เผ่าทองศุข
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


อณูพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์น้ำ (AQGT)
โดย ดร.เปรมฤทัย สุพรรณกูล
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


เทคโนโลยีชีวภาพปลาและกุ้ง
โดย ดร.แสงจันทร์ เสนาปิน
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


ทีมวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ
โดย ดร.กัลยาณ์ แดงติ๊บ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


ทีมวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล
โดย ดร.สรวิศ เผ่าทองศุข
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


ทีมวิจัยและพัฒนาบริการด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (AQST)
โดย ดร.เสจ ไชยเพ็ชร
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


กระบวนทัศน์ใหม่ในการแก้ไขปัญหาการเกิดโรคระบาดในกุ้ง
โดย ดร.กัลยาณ์ แดงติ๊บ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


การค้นหาและทดสอบสารยับยั้งไบโอฟิล์มของเชื้อก่อโรคในสัตว์น้ำ เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ
โดย ดร.ชุมพร สุวรรณยาน
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


กลไกภูมิต้านทานโรคในกุ้ง ระบบโพรฟีนอลออกซิเดสและเปปไทด์ต้านจุลชีพ
โดย ดร.ปิติ อ่ำพายัพ
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ
โดย ดร.เปรมฤทัย สุพรรณกูล
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


การวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบหมุนเวียนน้ำเพื่อการเลี้ยงสัตว์น้ำ
โดย ดร.สรวิศ เผ่าทองศุข
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำของไทยจากอดีตสู่อนาคต
โดย คุณเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

 

Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,