ฟลูออไรด์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของแร่ธาตุในชั้นหิน ทำให้ในแหล่งน้ำตามธรรมชาติมีฟลูออไรด์ละลายอยู่ ซึ่งโดยปกติแล้วแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่ มักมีค่าความเข้มข้นของฟลูออไรด์สูงกว่าแหล่งน้ำผิวดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุ และชั้นหินต่างๆ

ฟลูออไรด์ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในการรักษาสุขภาพช่องปาก อย่างไรก็ตาม การได้รับความเข้มข้นของฟลูออไรด์ที่สูง ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก่อให้โรคฟลูออโรซีส (Fluorosis) ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคดังกล่าวคือ การทำให้ฟันตกกระ และทำลายโครงสร้างของฟัน ขณะที่การรับฟลูออไรด์ปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้มีการสะสมของฟลูออไรด์ในกระดูก ทำให้ขามีลักษณะพิการที่เรียกว่า ขาโกง (Crippling skeletal fluorosis)

ทั้งนี้อาการที่เกิดขึ้น เป็นอาการที่ไม่สามารถรักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้ รวมทั้งส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองในเด็ก ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคชนิดอื่นๆได้ ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภค ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำคือ 0.7 มิลลิกรัมต่อกรัม โดยค่าอนุโลมสูงสุด ไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อกรัม

 

Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,