• 1 นาที กับ BCG Model ตอน ฟิล์มย่อยสลายได้ปิดผนึกหน้าถาด

    1 นาที กับ BCG Model ตอน ฟิล์มย่อยสลายได้ปิดผนึกหน้าถาด

    เอ็มเทค สวทช. พัฒนานวัตกรรม “ฟิล์มย่อยสลายได้ปิดผนึกหน้าถาด” มีลักษณะเด่นที่ฟิล์มใส และมีสมบัติต้านทานการเกิดฝ้า สามารถซีลปิดสนิทกับถาดย่อยสลายได้ เหมาะสำหรับบรรจุอาหารพร้อมรับประทาน อาหารแช่เย็นที่ไม่ต้องอุ่นร้อน เช่น ผลไม้ตัดแต่ง สลัดผัก ข้าวเหนียวมะม่วง ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดฝ้าและไอน้ำเกาะที่ฟิล์ม ป้องกันการปนเปื้อนจากเชื้อโรคระหว่างการขนส่งและวางจำหน่าย

    continue reading »

     
     
  • 1 นาที กับ BCG Model ตอน BCG-NAGA Belt Road

    1 นาที กับ BCG Model ตอน BCG-NAGA Belt Road

    สวทช. ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย สถาบันการศึกษาในพื้นที่ และภาคเอกชน ดำเนินโครงการ “โครงการยกระดับรายได้ และความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวด้วยเกษตรสมัยใหม่ บนเส้นทางสายวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง” (BCG-NAGA Belt Road) เพื่อยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียว

    continue reading »

     
     
  • 1 นาที กับ BCG Model ตอน EV Bus รถโดยสารไฟฟ้าฝีมือคนไทย

    1 นาที กับ BCG Model ตอน EV Bus รถโดยสารไฟฟ้าฝีมือคนไทย

    สวทช. ร่วมกับ กฟผ. กฟภ. กฟน. และ ขสมก. ดำเนินโครงการการพัฒนารถโดยสารประจำทางใช้แล้ว ขสมก. เป็นรถโดยสารไฟฟ้าเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย โดยได้รถต้นแบบ 4 รุ่น ซึ่งพัฒนาจากรถโดยสารประจำทางใช้แล้วของ ขสมก. ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 20 ปี และถูกแจ้งปลดระวางไปแล้ว นำมาปรับปรุงและพัฒนาเป็นรถโดยสารไฟฟ้า ที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย มีต้นทุนต่ำกว่าการผลิต

    continue reading »

     
     
  • 1 นาที กับ BCG Model ตอน นวัตกรรมเครื่องผลิตข้าวฮางงอก

    1 นาที กับ BCG Model ตอน นวัตกรรมเครื่องผลิตข้าวฮางงอก

    วช. สนับสนุนนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) พัฒนา “เครื่องเร่งกระบวนการแช่และเพาะงอกข้าวเปลือก” สำหรับการผลิตข้าวกล้องฮางงอกคุณภาพดี เพื่อช่วยเกษตรกรแปรรูปเพิ่มมูลค่าข้าวอินทรีย์ โดยผลิตเป็นข้าวฮางงอก ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูง และขายได้ราคาดีกว่าการจำหน่ายในรูปข้าวสารขาวถึง 17.6 เท่า

    continue reading »

     
     
  • 1 นาที กับ BCG Model ตอน เทคโนโลยี “Plant Phenomics”

    1 นาที กับ BCG Model ตอน เทคโนโลยี “Plant Phenomics”

    สวทช. นำเทคโนโลยีการประเมินสรีระวิทยา และรูปลักษณ์ขั้นสูงของพืช หรือ Plant Phenomics มาใช้ในการศึกษาวิจัยและปรับปรุงพันธุ์พืช ด้วยเทคนิค Image Analysis โดยใช้กล้องและเซนเซอร์ประเภทต่างๆ ในการวัดค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติโดยไม่ทำลายต้นพืช

    continue reading »