เซลล์แสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเลือกที่ได้รับความสนใจมากในปัจจุบัน แต่เซลล์แสงอาทิตย์ที่นิยมนั้นเป็นแบบซิลิกอน ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต แถมตัวผลึกซิลิกอนยังมีความเปราะบาง และยังมีประสิทธิภาพต่ำ ในสภาวะแสงน้อยด้วย แต่ตอนนี้ นักวิจัยไทยพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบาง มาเป็นทางเลือกใหม่ ไร้ข้อจำกัดเดิมๆ

นักวิจัย สวทช. ได้พัฒนากระบวนการผลิตและขึ้นรูปเซลล์แสงอาทิตย์ ทั้งชนิดพอลิเมอร์และพอรอฟสไกด์ที่ใช้ได้ในระดับห้องปฏิบัติการและระดับกระบวนการผลิตที่ใช้อุณหภูมิ ไม่เกิน 100 องศาเซลเซียส ซึ่งต่างจากกระบวนการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอื่นที่ต้องใช้ความร้อน 400-1000 องศาเซลเซียสในการผลิตสารกึ่งตัวนำไฟฟ้า

นอกจากนี้ยังได้พัฒนากระบวนการผลิตชั้นส่งผ่านอิเล็กตรอน ซึ่งใช้เพิ่มประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งสองแบบได้อีกด้วย เซลล์แสงอาทิตย์ทั้งแบบพอลิเมอร์และพอรอฟสไกด์ที่พัฒนาขึ้นนี้ มีประสิทธิภาพสูงสูดอยู่ที่ 7.5% และ 14% ตามลำดับ สามารถนำไปต่อยอดเพื่อผลิตเซลล์แสงอาทิตย์บนพื้นผิวโค้งงอ และมีน้ำหนักเบาได้ ตอบโจทย์การใช้งานได้ดีและกว้างขึ้น ด้วยต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าแบบเดิมๆ

 

Tags: , , , , , , , , , , , ,