การสัมมนา “การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงคุณภาพอาหารสัตว์ และความต้องการโภชนะสำหรับโคนมไทย (Nutrients Requirement for Dairy Cattle in Thailand)” วันพุธที่ 27 มีนาคม 2562 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม CC-305 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย, อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

ประเทศไทยมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมจำนวน 17,348 ครัวเรือน และมีจำนวนโคนมทั้งสิ้น 584,327 ตัว (กรมปศุสัตว์, 2560) กระจายอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยมีกำลังผลิตน้ำนมดิบไม่ต่ำกว่า 850,000 ตัน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์นมไม่ต่ำกว่า 60,000 ล้านบาท การบริโภคน้ำนมของคนไทยอยูที่ประมาณ 14 ลิตรต่อคนต่อปี ในขณะที่ประชากรในแถบภูมิภาคอาเซียน บริโภคนมเฉลี่ย 60 ลิตรต่อคนต่อปี และค่าเฉลี่ยการดื่มนมของประชากรโลกอยู่ที่ 104.7 ลิตร/คนต่อปี

ดังนั้ นจึงแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเติบโต ของธุรกิจโคนมในประเทศไทย และโอกาสการขยายการเติบโต ไปในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ส่งผลให้อาชีพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรไทย เป็นอาชีพที่มั่นคง และยังมีโอกาสขยายตัวไปได้อีกมาก อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการผลิตน้ำนมของประเทศไทย ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร กล่าวคือแม่โคยังให้ผลผลิตต่ำ ทำให้ต้นทุนในการผลิตน้ำนมยังคงสูงอยู่ (นมไทยเหนื่อยแต่มีหวัง สยามธุรกิจ 19 มิถุนายน 2556)

อาหารสัตว์เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ที่จะส่งผลถึงปริมาณผลผลิตน้ำนม และกำไรของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เนื่องจากอาหารคือต้นทุนการผลิต ที่มีสัดส่วนสูงที่สุด ที่ผ่านมา การวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับนวตกรรมอาหารสัตว์ ได้มีการทำกันมาอย่างต่อเนื่อง และกรมปศุสัตว์ ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้รวบรวมข้อมูลงานวิจัยในประเทศ ที่ผ่านมาเพื่อจัดทำคู่มือ “ความต้องการโภชนะของโคนมในประเทศไทย” ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการจัดการอาหารสัตว์ และยังสามารถใช้เป็นบรรทัดฐานอ้างอิง สำหรับงานวิจัยทางด้านอาหารโคนมของประเทศต่อไป คู่มือนี้ได้ถูกดำเนินการจัดทำจนเสร็จสิ้นแล้ว สมควรได้รับการเผยแพร่ในหมู่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการในสาขาโภชนะศาสตร์โคนม เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

นอกจากนี้ ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีผลพลอยได้ทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก ที่สามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพ และคุณค่าทางโภชนะเพื่อใช้ประโยชน์เป็นอาหารโค ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนอาหารสัตว์ ในขณะที่สัตว์ยังคงสามารถแสดงศักยภาพในการผลิต ได้อย่างเต็มที่



การใช้จุลินทรีย์เพื่อปรับปรุงคุณค่าทางโภชนะของผลพลอยได้ทางการเกษตร เพื่อใช้เป็นอาหารโค
โดย ดร.เบญจพร สุรารักษ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


การใช้จุลินทรีย์เพื่อปรับปรุงคุณค่าทางโภชนะของผลพลอยได้ทางการเกษตร เพื่อใช้เป็นอาหารโค
โดย ดร.พีรดา พรหมมีเนตร
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


ความต้องการโภชนะของโคนมไทย
โดย คุณอิทธิพล เผ่าไพศาล
กรมปศุสัตว์


ความต้องการโภชนะของโคนมไทย
โดย รศ.ดร.กฤตพล สมมาตย์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ความต้องการโภชนะของโคนมไทย
โดย ศ.ดร.วิโรจน์ ภัทรจินดา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ช่วงถาม-ตอบ

 

Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,