การสัมมนาเรื่อง จากรหัสพันธุกรรม สู่นวัตกรรมการรักษาโรค (From Genomics to Clinical Applications) วันศุกร์ ที่ 1 เมษายน 2559 เวลา 9.00 – 12.00 น. ห้องประชุม CC-405 ชั้น 4 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

การตรวจทางพันธุกรรม โดยการหาลำดับเบสทั้งจีโนม โดยเทคนิค Next generation sequencing กลายเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการ ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ในปัจจุบัน ทั้งนี้เกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และข้อมูลความหลากหลายทางพันธุกรรม ที่มีอยู่อย่างมหาศาลในฐานข้อมูลสาธารณะ ทำให้การพัฒนาเครื่องหมายทางพันธุกรรม สำหรับใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรค ทำนายโอกาสเกิดโรค ระบุความรุนแรงของโรค ทำได้ถูกต้อง แม่นยำ ทันท่วงที เกิดการวางแผนการรักษา ได้อย่างเหมาะสม มีความเฉพาะเจาะจงกับคนไข้ การใช้ยามีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ความรู้ด้านความหลากหลายทางพันธุกรรม และความก้าวหน้าด้านพันธุวิศวกรรม สามารถพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ในการรักษาโรค อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านเซลล์ต้นกำเนิด และยีนบำบัด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าว ยังต้องพัฒนา ศึกษาประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ของการรักษาต่อไป



ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ที่ปรึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ


ศ.นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล


ศ.นพ.ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,