การสัมมนา “ระบบไซเบอร์กายภาพ กุญแจสู่ Smart Factory (Cyber-Physical Systems, a Key to Smart Factory)” ในงานประชุมวิชาการ สวทช. ครั้งที่ 15 วันที่ 27 มีนาคม 2562 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม CC-403 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

ระบบไซเบอร์-กายภาพ คือ ระบบทางวิศวกรรมที่บูรณาการโลกกายภาพ (Physical World) กับโลกไซเบอร์ (Cyber World) เข้าด้วยกัน โลกกายภาพประกอบด้วยสิ่งต่างๆ เช่น อุปกรณ์ เครื่องจักร มนุษย์ ระบบต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ รวมถึงสภาพแวดล้อม ส่วนโลกไซเบอร์หรือโลกดิจิทัลนั้น เป็นโลกแห่งการประมวลผลและการควบคุม การผนวกสองโลกเข้าด้วยกัน

เริ่มจากการเชื่อมต่อของสิ่งต่างๆ ในโลกกายภาพแบบเป็นเครือข่าย ซึ่งเทคโนโลยี IoT ก็เป็นตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อ (Connectivity) การสื่อสาร (Communications) และการนำข้อมูลจากอุปกรณ์ เครื่องจักร หรือสภาวะแวดล้อมต่างๆ ในโลกกายภาพ ส่งต่อไปให้โลกของไซเบอร์ช่วยประมวลผล (Computing) วิเคราะห์คำนวณ หรือตัดสินใจ เพื่อส่งข้อมูลย้อนกลับมาควบคุม (Feedback Control) โลกกายภาพอย่างเป็นอัตโนมัติ การหลอมรวมของสองโลกนี้ ทำให้สิ่งต่างๆ ในระบบ สามารถเชื่อมต่อทำงานร่วมกันได้

โลกกำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือที่เรียกกันว่า Industry 4.0 ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เทคโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถเพิ่มผลผลิตได้เร็วขึ้น ลดต้นทุน ลดความผิดพลาด และลดความเสียหาย รวมถึงยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์เครื่องจักร ทั้งนี้ Industry 4.0 เกิดขึ้นได้จากการนำเทคโลยีดิจิทัล และอินเทอร์เน็ต มาบูรณาการในรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี Cyber-Physical System (CPS) และ Internet of Things (IoT) ที่ทำให้สิ่งของ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร สามารถเชื่อมต่อ และสื่อสารกันได้เป็นเครือข่าย



กล่าวเปิดงานสัมมนา
โดย ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.


การบรรยาย “Mass customization ทางรอดของอุตสาหกรรมในยุค Industry 4.0”
โดย คุณอุดม ลิ่วลมไพศาล
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.


การบรรยาย “การเตรียมความพร้อมของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม เพื่อรับมือกับอุตสาหกรรม 4.0”
โดย คุณชัยรัตน์ บรรเทาทุกข์
สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (SIMTec)


การบรรยาย “Innovation & Collaboration in Smart Manufacturing – An introduction of NARLabs Intelligent Technology”
โดย Dr. Yao-Joe Joseph YANG
National Applied Research Laboratories (NARLabs), Taiwan


การนำเสนอ “Smart Factory คนไทยทำได้ – กรณีศึกษาจากโรงงานที่ได้รับรางวัลในการประกวด Maker Startup”
โดย ผู้แทนโรงงานที่ได้รับรางวัลในการประกวด Maker Startup 3 โรงงาน


การบรรยาย “ศูนย์ระบบไซเบอร์กายภาพ โครงสร้างพื้นฐานเสริมแกร่งโรงงานอัจฉริยะ”
โดย ดร. กุลชาติ มีทรัพย์หลาก
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.

 

Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,