การสัมมนาเรื่อง พ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำจากโปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์ของ สวทช. วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2558 เวลา 13.00 – 16.45 น. ห้องประชุม CC-405 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (CC) อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในปี 2546 และ สวทช. ได้สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง ศวพก. (Nucleus Breeding Center = NBC) เป็นศูนย์กลางการผลิตพ่อแม่พันธุ์ปลอดโรค จากรุ่นสู่รุ่น (Domestication) และเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำอย่างจริงจังในปี 2549 เมื่อ NBC เสร็จสิ้น และในปีเดียวกันมีการสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาทำหน้าที่เป็นศูนย์เพิ่มจำนวนพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำ

มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสารสนเทศ จันทบุรี (Broodstock Multiplication Center = BMC) และศูนย์กักกันโรค มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Quarantine Center) ทำหน้าที่คัดกรองประชากรกุ้งจากธรรมชาติก่อนจะนำเข้า ศวพก. เพื่อใช้เป็นฐานประชากร และแหล่งของพันธุกรรมเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ ความก้าวหน้าของการปรับปรุงพันธุ์ ได้นำประชากรกุ้งตั้งต้นปลอดโรคเข้าไปใน ศวพก. โดยมีการสะสมประชากรพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งต่างๆ อาทิ ทะเลแถบน่านน้ำไทยบริเวณจังหวัดตรังและสตูล แถบประเทศฟิลิปปินส์ มาเลเซีย รวมถึงโมซัมบิค

ณ ปัจจุบัน ได้ผ่านการพัฒนาสายพันธุ์มาถึงรุ่นที่ 7 จากการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตที่อายุ 5 เดือน ภายใต้สภาพแวดล้อมการเลี้ยงของ ศวพก. กุ้งสายพันธุ์ ศวพก. มีอัตราการเจริญเติบโตโดยเฉลี่ยประมาณ 0.25 กรัม/วัน และมีศักยภาพการเจริญเติบโตในช่วงสภาพแวดล้อมเหมาะสมได้ถึง 0.33 กรัม/วัน ปัจจุบันมี BMC 2 แห่ง คือ ภาคตะวันออก ณ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี และภาคใต้ ณ ศิรินทรฟาร์ม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และได้ส่งพ่อแม่พันธุ์กุ้งกุลาดำปลอดโรคให้โรงเพาะฟักเอกชนไปผลิตลูกกุ้งทดสอบเลี้ยงฟาร์มเกษตรกรเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของพ่อแม่พันธุ์และลูกกุ้งที่ผลิตออกมา ควบคู่ไปกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อการพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพดี สมบูรณ์ ปลอดโรค มีปริมาณไข่ต่อแม่มากพอ ลูกกุ้งที่ผลิตมีความแข็งแรงทนต่อโรค อัตราการรอดสูง



ตอนที่ 1/8

ตอนที่ 2/8

ตอนที่ 3/8

ตอนที่ 4/8

ตอนที่ 5/8

ตอนที่ 6/8

ตอนที่ 7/8

ตอนที่ 8/8

 

Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,