หลายคนคงรู้จักก๊าซชีวภาพ พลังงานที่ได้จากการหมักของเสีย และน้ำเสียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเศษพืช เศษผัก เศษอาหาร มูลสัตว์ หรือน้ำเสียตามอุตสาหกรรม ทางการเกษตรต่างๆ เมื่อนำมาเก็บไว้ในสภาวะไร้อากาศ จะทำให้เกิดก๊าซที่เป็นผลผลิตหลักๆ อยู่ 3 ชนิด คือ ก๊าซมีเทนหรือก๊าซชีวภาพ ร้อยละ 60 ถึง 70 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 30 ถึง 40 และ ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า น้อยกว่า 500 ส่วน ต่ออากาศหนึ่งล้านส่วน

ส่วนที่ย่อยสลายไม่หมด จะกลายมาเป็นปุ๋ย เสริมธาตุอาหารบำรุงต้นพืช ให้เจริญเติบโต แถมมีเส้นใยที่ย่อยสลายยาก เข้ามาช่วยปรับปรุงดิน ไม่ให้ดินอัดตัวกันแน่นจนเกินไป และง่ายต่อการเจริญเติบโต ของรากพืชอีกด้วย ทั้งนี้ปริมาณของก๊าซชีวภาพ ที่ได้จากการหมักนั้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารอินทรีย์ ที่มีอยู่ในของเสีย หรือน้ำเสียที่นำมาใช้ วันนี้รายการชาววิทย์ชิดชาวบ้าน ขอนำท่านผู้ชม มาดูงานวิจัย ที่จะนำของเสียจากอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ

 

Tags: , , , , , , ,