• ชาววิทย์ชิดชาวบ้าน ตอน โคฟรีบราโคพันธุ์ผสมฝีมือนักวิจัยไทย

    ชาววิทย์ชิดชาวบ้าน ตอน โคฟรีบราโคพันธุ์ผสมฝีมือนักวิจัยไทย

    การเลี้ยงโคนมในประเทศไทยเป็นอาชีพที่สร้างงานและรายได้ให้กับเกษตรไทยมายาวนาน การนำเข้าพันธุ์โคจากต่างประเทศทำให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูง อีกทั้งโคจากต่างประเทศไม่สามารถทนทานต่ออากาศของประเทศไทยได้มากนัก ไบโอเทคร่วมกับกรมปศุสัตว์ ทำโครงการวิจัยและพัฒนาธุรกิจผลิตโคนม เพื่อสร้างระบบการผลิตโคนมลูกผสม ที่เหมาะกับสภาพของประเทศไทย

    continue reading »

     
     
  • ชาววิทย์ชิดชาวบ้าน ตอน ไส้กรอกปลา

    ชาววิทย์ชิดชาวบ้าน ตอน ไส้กรอกปลา

    ปัญหาราคาปลาดุกตกต่ำใน จ.กาฬสินธุ์ ก่อให้เกิดผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกปลารมชานอ้อยขึ้น โดย ไบโอเทคได้ร่วมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดย ผศ.จิรพันธ์ ห้วยแสน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นการพัฒนาการแปรรูปสัตว์น้ำจืด (ปลาดุก) เนื่องจากเป็นสัตว์น้ำที่ราคาไม่สูง โดยในบางช่วงที่มีปริมาณมากจะทำให้ราคาตกต่ำ จนเกษตรผู้เลี้ยงประสบปัญหาขาดทุน

    continue reading »

     
     
  • ชาววิทย์ชิดชาวบ้าน ตอน ข้าวกล้องงอก

    ชาววิทย์ชิดชาวบ้าน ตอน ข้าวกล้องงอก

    เมื่อเอ่ยถึง ข้าวกล้องงอก หลายท่านคงจะเริ่มคุ้นเคยกับชื่อนี้กันบ้างแล้ว เนื่องจากข้าวกล้องงอก กำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพ รายการชาววิทย์ชิดชาวบ้านตอนนี้ จะพาท่าไปพบกับเรื่องราวของข้าวกล้องงอก ทั้งในส่วนของประโยชน์ และกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวกล้องงอก

    continue reading »

     
     
  • ชาววิทย์ชิดชาวบ้าน ตอน เริ่มศักราชใหม่ กับงานวิจัยเพื่อประชาชน

    ชาววิทย์ชิดชาวบ้าน ตอน เริ่มศักราชใหม่ กับงานวิจัยเพื่อประชาชน

    รายการชาววิทย์ชิดชาวบ้าน ได้นำเสนองานวิจัยและพัฒนา ที่มีการนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อจะไปตอบโจทย์ ไปแก้ปัญหา หรือไปพัฒนางานให้กับภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตรกรรม ภาคสิ่งแวดล้อม ภาคพลังงาน ภาคสาธารณสุขหรือแม้กระทั่งชุมชน ชนบท รายการชาววิทย์ชิดชาวบ้านในตอนนี้ ได้ทำการรวบรวมงานวิจัย และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ได้เคยนำเสนอไป กลับมาทบทวนกันอีกครั้ง

    continue reading »

     
     
  • ชาววิทย์ชิดชาวบ้าน ตอน คุณภาพน้ำ บอกได้ด้วยเทคโนโลยี

    ชาววิทย์ชิดชาวบ้าน ตอน คุณภาพน้ำ บอกได้ด้วยเทคโนโลยี

    สถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติจะถูกนำไปติดตั้งไว้ตามแหล่งน้ำต่างๆ ที่ต้องการตรวจวัดคุณภาพน้ำ ประกอบด้วยชุดแขนกลสำหรับจับหัววัดน้ำให้เคลื่อนที่ไปยังถังน้ำต่างๆ โดยชุดแขนกลนี้ จะถูกควบคุมจากชุดควบคุมการตรวจวัดคุณภาพน้ำที่ได้ตั้งโปรแกรมไว้แล้วส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบนี้จะช่วยให้อายุการใช้งานของหัววัดยาวนานขึ้น ทำให้ยืดระยะเวลาการส่งคนไปบำรุงรักษา

    continue reading »