การบรรยายหัวข้อ “สถานภาพและทิศทางงานวิจัยที่ตอบสนองอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์” ในการสัมมนาเรื่อง อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ: ศักยภาพเทคโนโลยีชีวภาพด้านอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ (Bio-based Industry for Food & Feed Industry) วันอังคารที่ 1 เมษายน 2557 เวลา 10:15 – 11:30 น. ณ ห้องประชุม CC-305 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

อุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งทรัพยากรจุลินทรีย์ที่มีความหลากหลายสูง โดยมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อต่อยอดให้กับอุตสาหกรรม ซึ่งจะสามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

ปัจจุบันแนวทางงานวิจัยมีการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ในอาหาร/อาหารสัตว์ โดยใช้เป็นต้นเชื้อจุลินทรีย์สําหรับอาหารหมัก ประยุกต์ใช้โปรไบโอติกส์ในอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์ เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ รวมถึงงานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์เพื่อเป็นแหล่งผลิตกรดไขมันไม่อิ่มตัว การพัฒนาจุลินทรีย์/เอนไซม์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับวัตถุดิบในประเทศ และสามารถผลิตได้ในราคาที่สามารถแข่งขันได้กับเอนไซม์จากต่างประเทศจึงมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความเข้มแข็งทางด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ เพื่อทดแทนการนําเข้าในระยะยาว



เอนไซม์สําหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
ดร. สุทิพา ธนพงศ์พิพัฒน์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


สถานภาพและทิศทางงานวิจัยต้นเชื้ออาหาร/ โปรไบโอติกส์ที่ตอบสนองอุตสาหกรรมอาหารและอาหารสัตว์
ดร. วรรณพ วิเศษสงวน
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


การเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของอาหารและอาหารสัตว์ด้วยกรดไขมันโอเมก้าสามและโอเมก้าหก
ดร. กอบกุล เหล่าเท้ง
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

 

Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,